วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความเป็นจริงเกี่ยวกับกลยุทธ์ตลาด Blue Ocean ในธุรกิจขายตรง

ความเป็นจริงเกี่ยวกับกลยุทธ์ตลาด Blue Ocean ในธุรกิจขายตรง
สยามธุรกิจ [ ฉบับที่ 857 ประจำวันที่ 26-12-2007 ถึง 28-12-2007]
ที่ผ่านมามีหลายบริษัทขายตรงได้หยิบยกเอาลยุทธ์ตลาดแบบ Blue Ocean มาพูดกันเยอะมากมีการนิยายไว้ว่าเป็นเรื่องของการมองหาตลาดใหม่ การลดต้นทุนให้ต่ำ รวมถึงการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ๆ ซึ่งจากแนวความคิดนี้ “ W.cha Kim และ Renee Mauborgne ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่สถาบัน Insead ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าแท้จริงแล้ว Blue Ocean Strategy คือ นำเสนอแนวคิดและเครื่องมือในการบริหารกลยุทธ์ในรูปแบบใหม่ที่ครอบคลุมทั้งเครื่องมือในการวิเคราะห์ต่างๆ การกำหนดหรือจัดทำกลยุทธ์ในรูปแบบต่างๆ และแนวทางในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ซึ่งถือได้ว่าครบวงจรการบริหารกลยุทธ์เลยทีเดียว แต่หลายคนจะเริ่มสงสัยแล้วนะว่าทำไมต้องเรียกว่า Blue Ocean หรือทะเลสีฟ้าด้วยเริ่มต้นก็คือเมื่อสภาวะการณ์แข่งขันในปัจจุบันที่บริษัทต่างๆ พยายามจะเอาชนะคู่แข่งด้วยการนำเสนอความแตกต่างของสินค้าและบริการ หรือ การหาทุกวิธีทางที่จะลดต้นทุนให้ต่ำที่สุดนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะนำไปสู่การแข่งขันและตอบโต้ที่รุนแรงจากคู่แข่งขันสังเกตได้จากในหลายๆ อุตสาหกรรมเลยครับที่การแข่งขันระหว่างบริษัทมักจะนำไปสู่เรื่องของการตัดราคาหรือพยายามเลียนแบบกลยุทธ์ของคู่แข่งให้ได้มากที่สุด เรียกได้ว่าใครออกอะไรมา อีกฝ่ายก็จะออกมาตอบโต้แบบทันควัน ซึ่งการแข่งขันในลักษณะดังกล่าวไม่ได้นำผลดีมาสู่ใครเลย และสุดท้ายก็จะเกิดการบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย เปรียบเสมือนว่าเมื่อบาดเจ็บแล้วเลือดของทั้งสองฝ่ายก็ไหลนองทั่วไปหมด เลยทำให้ทะเลกลายเป็นสีแดง หรือ Red Ocean Strategyส่วน Blue Ocean Strategy นั้นเป็นการหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย โดยองค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะไม่สนใจต่อการแข่งขันหรือต่อตัวคู่แข่งขันเท่าใด เรียกได้ว่าจะไม่เข้าไปแข่งขันในตลาดหรืออุตสาหกรรมเดิมๆ แต่จะพยายามที่จะสร้างตลาดหรืออุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครสร้างหรือเข้าไป และแทนที่จะเป็นการเอาชนะคู่แข่ง กลับเป็นการทำให้คู่แข่งล้าสมัยไปเช่น กรณีของคอมพิวเตอร์ Dell ที่เข้าสู่ตลาดการผลิตคอมพิวเตอร์ตามสั่ง แทนที่จะมุ่งขายและแข่งกับ Compaq (ในสมัยนั้น) และผลก็คือรูปแบบหรือวิธีการในการแข่งขันแบบดั้งเดิมที่ Compaq เป็นเจ้าอยู่ก็ล้าสมัยไป นอกจากนี้พวกที่ใช้ Blue Ocean Strategy ยังไม่สนใจต่อลูกค้าปัจจุบันเท่าใดนัก เนื่องจากมองว่าเป็นอุปสงค์ที่มีอยู่แล้วในอุตสาหกรรม แต่พยายามที่จะสร้างอุปสงค์ใหม่ๆ โดยเฉพาะจากผู้ที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้าของอุตสาหกรรม (noncustomers)ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ Blue Ocean Strategy นั้นพยายามที่จะลบล้างความเชื่อเก่าๆ ในเรื่องของกลยุทธ์การแข่งขันไป โดยเฉพาะในแบบที่ Porter เสนอว่าองค์กรธุรกิจจะต้องเลือกระหว่างการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) กับการเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership) ซึ่งในอดีตนั้นเรามักจะคิดว่าจะต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง จะทำให้ดีทั้งสองอย่างพร้อมๆ กันไม่ได้ แต่ภายใต้แนวคิดของ Blue Ocean Strategy นั้นเขาจะมองว่าพวกบริษัทที่ใช้กลยุทธ์แบบนี้จะสามารถนำเสนอได้ทั้งการสร้างความแตกต่าง และการมีต้นทุนที่ต่ำ ไปพร้อมๆ กันเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่สำคัญประการหนึ่งที่เรียกว่า “ Four Actions Framework “ ซึ่งเป็นคำถามสี่ข้อที่ทุกองค์กรควรที่จะถามตนเอง เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ที่นำเสนอทั้งความแตกต่างและการมีต้นทุนที่ต่ำ คำถามทั้งสี่ข้อประกอบด้วย1. อะไรคือปัจจัยที่เคยคิดว่าสำคัญหรือจำเป็น ที่ปัจจุบันไม่สำคัญและจำเป็นอีกต่อไป ที่สมควรที่จะตัดออกไปได้2. อะไรคือปัจจัยที่สามารถลดลงให้เหลือต่ำกว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม (Reduce)3. อะไรคือปัจจัยที่ควรที่จะยกขึ้นให้สูงกว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม (Raise)4. อะไรคือปัจจัยใหม่ที่บริษัทควรจะพัฒนาขึ้นมาที่ยังไม่มีการนำเสนอในอุตสาหกรรมาก่อน (Create)ท่านผู้อ่านลองคิดตามดูก็ได้ว่าในการแข่งขันในอุตสาหกรรมทั่วๆ ไป (ที่เป็นทะเลเลือด) บริษัทต่างๆ มักจะพยายามเลียนแบบหรือตามคู่แข่งทุกย่างก้าว ไม่ว่าใครออกอะไรมาบริษัทจะต้องออกตาม ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วสิ่งต่างๆ เหล่านั้นอาจจะไม่มีความจำเป็นเลยก็ได้ ผลก็คือสินค้าในอุตสาหกรรมที่เป็นทะเลเลือดมักจะออกมาเหมือนๆ กันหมด และสุดท้ายก็จะแข่งกันที่ราคาแต่การถามคำถามทั้งสี่ข้อเบื้องต้น จะทำให้เราเห็นว่าปัจจัยบางอย่างที่นำเสนอในปัจจุบันอาจจะไม่จำเป็นต้องมี หรือสามารถลดลงได้ ซึ่งถ้าทำได้ก็จะนำไปสู่การประหยัดต้นทุน และในขนาดเดียวกันก็เป็นคำถามที่ชวนให้เราต้องคิดต่อไปว่าอาจจะมีปัจจัยบางอย่างที่คู่แข่งรายอื่นๆ ไม่ให้ความสนใจที่บริษัทจำเป็นต้องยกระดับหรือพัฒนาขึ้นมาใหม่ก็ได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องของการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าขออนุญาตกลับไปตัวอย่างของ Dell ท่านผู้อ่านจะสังเกตครับว่าในการผลิตและขายคอมพิวเตอร์นั้น สิ่งที่ Dell ตัดออกไปคือในเรื่องของ Showroom หรือสถานที่สำหรับแสดงสินค้าที่ให้ลูกค้ามาเลือก เนื่องจาก Dell มองว่าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ลูกค้าสามารถเลือกที่จะสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางอื่นๆ ได้ การตัดปัจจัยในส่วนนี้ไปทำให้ Dell ประหยัดงบประมาณไปได้มาก ทั้งในเรื่องของสถานที่หรือการผลิตสินค้าเพื่อรอคนมาซื้อแต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่ Dell เพิ่มมาก็คือการเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อได้เลือกชิ้นส่วนและองค์ประกอบของเครื่องได้อย่างอิสระ ซึ่งเป็นสิ่งที่ในอดีตบริษัทขายคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปไม่ได้ให้ความสนใจเท่าใด เพราะฉะนั้นสิ่งที่ Dell ทำก็คือ แทนที่จะไปแข่งในการขายในลักษณะเดียวกับบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ เช่น Compaq แต่ Dell กลับมุ่งเน้นในการสร้างตลาดหรือช่องทางใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดถึงหรือเข้าไปก่อน“ Blue Ocean Strategy เป็นการหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย โดยองค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะไม่สนใจต่อการแข่งขันหรือต่อตัวคู่แข่งขันเท่าใด “

Strategic Planning

Strategic Planning
เลสลี่ และลอยด์ (Leslie W.Rue and Lloyd L. Byar,2000,p. 151) กล่าวว่า “กลยุทธ์เป็นแผนของแนวทางการจัดการพื้นฐานที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือการวางแผนที่จะจัดการให้บรรลุเจตจำนงของวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้” กลยุทธ์ในแต่ละระดับสามารถที่จะกำหนดทิศทางของแต่ละองค์กรในอนาคตได้ ดังนั้นการแข่งขันในธุรกิจการผลิตที่ควรใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ
การวิเคราะห์ทั้งสิ่งแวดล้อมภายใน (Internal Environment) และสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) ร่วมไปด้วยกันจะสามารถทำให้เห็นภาพแนวโน้มการปรับกลยุทธ์ของผู้ประกอบการที่พยายาม จะเพิ่มขีดความสามารถและมีความพร้อมที่จะแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) ตามทิศทางขององค์กรได้
โดยทั้งผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากภายนอก และสิ่งแวดล้อมจากภายใน องค์กรสามารถที่จะนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์หรือแผนสำหรับดำเนินธุรกิจขององค์กรได้ ซึ่งรูปแบบกลยุทธ์สามารถที่จะกำหนดและแบ่งออกได้ตามลำดับขององค์กรดังนี้
1. กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)
หมายถึงทิศทางรวมของธุรกิจซึ่งเป็นทิศทางที่ใช้อธิบายแนวทางร่วมกันในการพัฒนา
ธุรกิจบนพื้นฐานความหลากหลายของสายผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม หรือเป็นการกำหนดทิศทางที่เป็นเอกภาพของธุรกิจโดยรวมของบริษัทหรือโฮลดิ้งเป็นการกำหนดว่า องค์กรจะมีการแข่งขันที่ดำเนินไปในทิศทางใด เป็นวิสัยทัศน์ (Vision) ที่ผู้บริหารใช้ในการกำหนดทิศทางขององค์กร อาจจะมีการกำหนดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็นทางการหรือไม่ก็ได้ แต่สามารถสื่อวิสัยทัศน์ ไปในแนวทางขององค์กรที่ให้บุคลากรภายในและบุคลากรภายนอกสามารถรับรู้ได้
กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy) เป็นกลยุทธ์รวมขององค์กรที่จะแสดงถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจทุกอย่างในอนาคตขององค์กรได้ และสามารถแยกได้เป็น 4 แนวทางตามลักษณะของการดำเนินธุรกิจ
1.) Growth Strategies โดยทั่วไปทุกองค์กรนิยมที่จะเลือกกลยุทธ์นี้ในการดำเนินธุรกิจ
เพื่อที่จะให้ธุรกิจมีการขยายตัวหรือมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น อาจเป็นการหาตลาดใหม่หรือกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้
2.) Stability Strategies เป็นกลยุทธ์ที่ตลาดและสินค้าไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการ
ลงทุนเพิ่มเติม และยังคงโครงสร้างบริหารไว้ดังเดิม
3.) Retrenchment Strategies เป็นกลยุทธ์การหดตัวที่เกิดจากแรงกดดันจากสิ่งแวดล้อม
ภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่นเทคโนโลยีที่ตายแล้วย่อมจะต้องมีความต้องการในตลาดลดลง ดังนั้นควรจะพิจารณาว่าควรดำเนินงานต่อไปได้หรือไม่
4.) Combination Strategies เป็นการผสมผสานกลยุทธ์ตามแนวทางทั้งสามข้างต้น มีการ
ใช้กลยุทธ์ที่คู่ขนานกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายต้องมีการผสมผสานกัน
2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy)
หมายถึง แนวทางหรือกลยุทธ์ที่ใช้ในการบรรลุแผนทิศทางรวมของบริษัทหรือโฮลดิ้ง
เป็นกลยุทธ์ธุรกิจคือเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรใช้ในการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมในระดับนี้ กลยุทธ์ที่ใช้อาจหมายถึงกลยุทธ์ในการขยายการตลาด (Market Expansion) กลยุทธ์ในการขยายส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Penetration) กลยุทธ์ในการพัฒนาการตลาด (Market Development) กลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) และกลยุทธ์ในการขยายไปสู่ธุรกิจอื่น (Diversification) เป็นการคัดเลือกกลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะเหมาะสมเพื่อกำหนดว่าจะทำอย่างไรในระดับกลยุทธ์นี้ ซึ่งจะถือว่าเป็น (Mission) ที่สำคัญขององค์กรแสดงถึงขอบเขตของการดำเนินกิจการ
กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) เป็นกลยุทธ์ระดับที่สองขององค์กรซึ่งสามารถที่จะแยกพิจารณาได้ 3 แนวทาง
1.) กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost-Leadership Strategies)
2.) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategies) เป็นการใช้ความแตกต่าง
ของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน โดยสามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ในรูปแบบที่คู่แข่งไม่สามารถทำได้
3.) กลยุทธ์การมุ่งเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Focus Strategy) เป็นการมุ่งตอบสนองลูกค้า
เฉพาะกลุ่มในจำนวนจำกัด โดยอาจจะเป็นเฉพาะภูมิภาค สามารถที่จะตอบสนองลูกค้าในกลุ่มได้ดีกว่าผู้อื่น
- Cost Focus เป็นการมุ่งเน้นการทำต้นทุนต่ำแต่มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าเฉพาะสถานที่โดยไม่สนลูกค้ากลุ่มอื่นเลย
- Differentiation Focus เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นเฉพาะกลุ่มหรือสินค้าเฉพาะอย่าง และมีการเสนอสินค้าหรือบริการที่แตกต่างจากคู่แข่ง
3. กลยุทธ์ระดับสายงาน (Functional Strategy)
หมายถึงแนวนโยบายตามสายการแบ่งงาน เป็นการนำกลยุทธ์มาใช้ในระดับปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุได้ซึ่งวัตถุประสงค์ (Objective) ขององค์กรที่สามารถประเมินค่าออกมาได้อย่างชัดเจน และจะเป็นกลยุทธ์ที่จะต้องครอบคลุมทุกหน่วยงานภายในองค์กรให้มีการสอดประสานกันเพื่อความสำเร็จของกลยุทธ์ระดับธุรกิจและระดับองค์กร โดยมุ่งเน้นไปที่หน่วยปฏิบัติงาน เช่น ด้านการผลิต การตลาด การเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและการพัฒนา เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ คืออะไรแน่

ช่วง 3-4 ปีมานี้ ศัพท์ยอดนิยมของผู้บริหารทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ และนักวิชาการ ดูเหมือนจะหนีไม่พ้นคำว่า ยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ และดูเหมือนคำ 2 คำนี้ จะกลายเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ นั่นคือ ถ้าใครใช้คำนี้ในเวลา และสถานการณ์เหมาะสมจะทำให้ดูเท่ห์ และยากที่คนอื่นจะโต้แย้ง
ไม่เชื่อผู้อ่านลองหาหนังสือพิมพ์ หรือบทความอ่านดูซิครับ จะเห็นบ่อยมากที่จะเจอผู้บริหาร (ทั้งระดับประเทศ องค์กร หน่วยงาน) ย้ำแล้วย้ำอีก ถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ พร้อมประโยคต่างๆ ที่ฟังดูแล้วรู้สึกถึงความสำคัญของคำนี้
ผมเองไม่ได้เป็นคนที่ขวางโลกหรือต่อต้านต่อ "กลยุทธ์" (จริงๆ วิชาที่ผมสอนก็คือเรื่องบริหารกลยุทธ์) แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่า คำว่า "ยุทธศาสตร์ หรือ กลยุทธ์" ในปัจจุบันที่ได้มีการใช้กันมากมายนั้น ส่วนมากยังใช้กันโดยไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง ใช้กันผิดความหมาย และใช้ไปเพื่อให้ดูดีหรือสำคัญขึ้นมา
ยกตัวอย่างที่พบเจอได้ทั่วไป (ทั้งในการบริหารประเทศและบริหารองค์กร) เริ่มตั้งแต่ความหมาย และแตกต่างของคำว่า ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ถ้าพวกที่อยู่ในแวดวงธุรกิจจะคุ้นเคยว่า กลยุทธ์ คือ Strategy ไม่ค่อยคุ้นกับคำว่ายุทธศาสตร์
แต่พอไปเจอนักการทหาร ข้าราชการ นักการเมือง ก็จะแปลความหมายว่า Strategy คือ ยุทธศาสตร์ ส่วนกลยุทธ์ คือ Tactics ซึ่งก็แปลเป็นนัยได้ว่า ยุทธศาสตร์ใหญ่กว่ากลยุทธ์ (นั่นคือจะต้องมียุทธศาสตร์ก่อนแล้วค่อยกำหนดกลยุทธ์) แต่พอไปดูเอกสารการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของหน่วยราชการจะไม่มีกลยุทธ์ แต่มีประเด็นยุทธศาสตร์โผล่มาแทน
ดูซิครับว่า น่าสับสนแค่ไหน ยังไม่พอนะครับ บางแห่งก็มีนโยบาย (Policy) โผล่เข้ามาด้วย ซึ่งถ้าตำราทางกลยุทธ์ธุรกิจ นโยบายก็จะเป็นตัวที่แปลงหรือย่อยจากกลยุทธ์ลงมาอีกที (จากตำราการจัดการนั้น นโยบายอยู่ในกลุ่มเดียวกับ Procedure หรือแนวทาง และกฎ หรือ Rules) แต่พอไปดูแผนบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล (ตามที่นายกรัฐมนตรีแถลงกับสภา) ก็มีนโยบายของรัฐบาลแปดประการ แล้วค่อยแตกออกมาเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) แล้วค่อยตามด้วยกลยุทธ์อีกที นับว่าชวนปวดหัวดีแท้
นี่แค่จุดเริ่มต้น และยังไม่รวมคำศัพท์อื่นที่เจอในกระบวนวางแผนกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็น วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ วัตถุประสงค์ เป้าประสงค์ เป้าหมาย จุดมุ่งหมาย ค่านิยม ปรัชญา ซึ่งเชื่อว่าผู้อ่านจำนวนมากคงจะปวดหัวกับคำศัพท์เหล่านี้ เพราะตำราแต่ละเล่มก็ไม่เหมือนกัน อาจารย์แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน แต่ละองค์กรก็ใช้ไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามองในแง่บวก ท่านที่เป็นผู้บริหารองค์กรอาจจะคิดได้ว่า จะไม่สนใจต่อคำนิยามที่หลากหลายก็ได้ครับ ขอให้ในองค์กรของท่านมีนิยามที่ตรง และเข้าใจร่วมกัน เพื่อให้งานเดินก็เป็นใช้ได้ครับ
ปัญหาในเรื่องของนิยามศัพท์อาจจะดูแล้วไม่น่าใหญ่โต เพียงอาจนำไปสู่การใช้ และความเข้าใจที่ผิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสิ่งที่ผิดนั้นออกมาจากปากของผู้นำหรือผู้บริหารระดับสูง นอกเหนือจากปัญหาเรื่องของนิยามศัพท์แล้วคำว่า ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ ยังเป็นคำที่เมื่อใช้แล้ว มักจะนำไปสู่ความเข้าใจที่ผิดพลาดกันบ่อย ลองดูตัวอย่าง ถ้าท่านไปเจอที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ และเขาแนะนำตัวว่า เป็นที่ปรึกษาทางกลยุทธ์แล้ว เราก็มักจะเข้าใจโดยทันทีว่า ที่ปรึกษาคนนั้น คงจะคิดราคาแพงพอสมควร (คำว่ากลยุทธ์มักจะนำไปสู่อะไรที่มีมูลค่าแพงเสมอ)
หรือถ้าองค์กรจะจัดสัมมนาเรื่องกลยุทธ์ที่ต่างจังหวัด (หรือที่นิยมเรียกกันว่า Strategic Retreat) คนฟังก็มักจะแปลความหมายได้โดยอัตโนมัติว่า จะมีแต่ผู้บริหารระดับสูงไปสัมมนาที่โรงแรมดีๆ อาหารดีๆ บรรยากาศดีๆ เน้นพักผ่อนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องสาระของงานที่ได้ไม่สำคัญเท่า
หรือ ถ้านำคำว่ากลยุทธ์ไปเชื่อมกับการลงทุนหรืองบประมาณ ก็มักจะนึกถึงสิ่งที่แพงๆ เสมอ เช่น ถ้าเป็นการลงทุนด้านกลยุทธ์ (Strategic Investment) ก็จะเป็นการลงทุนที่สูง และใช้เงินเยอะ ในขณะเดียวกันเวลาใช้คำว่า กลยุทธ์ทีไร ก็จะมักนึกถึงสิ่งที่มีความสำคัญกว่างานประจำทั่วไป
เช่น ในเรื่องงบประมาณ ถ้าเชื่อมกับกลยุทธ์ ก็จะเป็นงบประเมินที่มีความสำคัญกว่างบปกติ หรือถ้าบอกคนอื่นว่างานที่กำลังทำอยู่เป็นงานทางกลยุทธ์หรือเกี่ยวกับกลยุทธ์ ก็จะทำให้งานนั้นดูมีความสำคัญมากกว่างานปกติไปเลย (นับเป็นความเข้าใจผิดจริงๆ)
หรือ ถ้าข้อเสนอโครงการใดก็ตามไม่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับกลยุทธ์หรือไม่สามารถบอกถึงความสำคัญทางกลยุทธ์ได้ งานหรือโครงการนั้นก็ดูไม่มีความสำคัญไปทันที (ทำให้ปัจจุบันเวลาเขียนข้อเสนอโครงการหรืองานใดก็ตาม จะต้องหาทางเชื่อมกับกลยุทธ์ให้ได้ทุกครั้ง)
ผู้อ่านลองสังเกตดู ปัจจุบันเราใช้คำว่า กลยุทธ์กันเยอะ แต่การใช้ก็ไม่ได้ให้ความหมายที่แท้จริง กลายเป็นคำที่เมื่อใช้แล้ว ทำให้ดูกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญขึ้นมา และปัญหาก็คือเมื่อใช้แล้วจะทำให้ความหมายของกลยุทธ์ที่แท้จริงผิดไป จนทำให้ความเชื่อถือ และเชื่อมั่นต่อกลยุทธ์ลดน้อยลงไปก็ได้

ผศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลยุทธ์ คือ ???

ความหมายของกลยุทธ์
คำว่ากลยุทธ์ (Strategy) มีรากศัพท์จากภาษากรีกว่า "stratos" (กองทัพ) +"agein" (นำหน้า) หมายความถึง "การนำทางให้องค์กรโดยรวม" ซึ่งมีนัยครอบคลุมจุดมุ่งหมายและวิธีการว่าต้องการทำ "อะไร" ให้สำเร็จ และทำ "อย่างไร"
กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการดำเนินงาน ที่คาดว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
กลยุทธ์ หมายถึง แผนของผู้บริหารระดับสูง ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับ ภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร
กลยุทธ์ คือ ชุดของทางเลือกระยะยาว เกี่ยวกับเป้าประสงค์เชิงปฏิบัติการ และนโยบาย รวมทั้งแผนปฏิบัติการของแผนงานของรัฐบาล ซึ่งองค์กรภาครัฐบาลกำหนด โดยคำนึงถึงวัตถุ ประสงค์ของแผนงานที่รัฐบาลกำหนดไว้ และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของแผนงาน
กลยุทธ์ คือ ชุดของเป้าหมายและแผนปฏิบัติการ สำหรับแต่ละระดับขององค์กรโดยเฉพาะ
กลยุทธ์ คือ ชุดของการปฏิบัติ ที่ทำให้องค์กรบรรลุผล
กลยุทธ์ คือ ตังปฏิบัติการ (operator) ที่ออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรจากสถานภาพ (Position) ปัจจุบันไปสู่สภาพที่พรรณนาไว้ตามเป้าประสงค์ ภายใต้ข้อจำกัดของความสามารถและศักยภาพ
กลยุทธ์ คือ แนวทางในการเปรียบเทียบจุดแข็งขององค์กรกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเพื่อคิดหาวิธีการที่ดีที่สุด ในการตอบสนองความต้องการผู้รับบริการ
กลยุทธ์ :ความหมาย
ปรมาจารย์ทางด้านการบริหารกลยุทธ์ได้ให้คำนิยามไว้ดังต่อไปนี้
Alfred Chandler
"กลยุทธ์" เป็นการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในระยะยาวขององค์กร และการเลือกแนวทางปฏิบัติ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุ ประสงค์ที่ได้วางไว้
James B.Quinn
"กลยุทธ์เป็นแผนที่ประกอบไปด้วยเป้าหมายหลักขององค์การ นโยบายและการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรมุ่งสู่ภาพรวมทั้งหมดอย่างที่ต้องการ"
William F.Glueck
"กลยุทธ์เป็นแผนหลักขององค์การที่วางไว้เพื่อให้แน่ใจว่าจะเป็นแนวทางทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายหลักที่ต้องการได้"
Henry Mintzberg
"กลยุทธ์เป็นรูปแบบของการตัดสินใจต่าง ๆ หรือการดำเนินการ เพื่อให้องค์การบรรลุถึงวัตถุประสงค์อย่างที่ต้องการ"
Michael A. Hitt และคณะ
"กลยุทธ์" เป็น "ชุดของภาวะผูกพันและการดำเนินต่าง ๆ ที่ได้มีการประมวลและประสานเข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถหลัก (Core Competencies) เพื่อให้ได้ข้อได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคนอื่น"
จะเห็นได้ว่าคำนิยามของคำว่า "กลยุทธ์" นี้มีขอบเขตที่แคบและกว้าง คือ
ในระดับแคบนั้นเน้นที่วิธีการ (Means) ที่สำคัญที่จะใช้เพื่อให้องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายหลักขององค์กร
ในระดับกว้าง จะให้ความหมายของคำว่า "กลยุทธ์" โดย พิจารณาครอบคลุมทั้งเป้าหมาย (Ends) และวิธีการ (Means) ที่จำทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
แต่เราจะพบว่าคนส่วนใหญ่มักใช้คำว่ากลยุทธ์ในฐานะของเครื่องมือ หรือวิธีการ

กลยุทธ์การตลาดที่ HOT ที่สุด ให้คุณเป็นผู้นำทางธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ทันที

กลยุทธ์การตลาดที่ HOT ที่สุด ให้คุณเป็นผู้นำทางธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ทันที
ในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ ณ จุดไหน ก็ดูเหมือนจะมีคู่แข่งอยู่เต็มไปหมด การที่จะดำเนินธุรกิจให้อยู่รอด จึงต้องอาศัยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดี มีวิสัยทัศน์ในการมองอนาคตได้ชัดเจน เพื่อเตรียมรับมือและนำบริษัทก้าวไปข้างหน้าได้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับทุกกิจการคือ “กลยุทธ์การตลาด” เพราะการตลาดนำลูกค้ามาให้ การตลาดที่เข้มแข็งจึงทำให้บริษัทมีรายรับที่มั่นคง กลยุทธ์การตลาดจึงเป็นเสมือนหัวใจของทุกธุรกิจ ที่ผู้บริหารทุกคนควรเอาใจใส่มาก เพราะนั่นหมายถึงรายได้ของคุณจะมากตามขึ้นไปด้วยด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไปมากในปัจจุบันหรือเทคโนโลยี internet นี้เอง ก่อให้เกิดกลุ่มลูกค้าจำนวนมหาศาลผ่านช่องทางนี้ ปัจจุบันนี้คนไทยใช้อินเตอร์เน็ตกว่า 10 ล้านคน พวกเขาเหล่านั้นล้วนชื่นชอบค้นหาสินค้าและบริการที่ตนสนใจผ่านระบบออนไลน์ นี้จึงเป็นกำลังซื้อมหาศาลที่ผู้บริหารทุกคนไม่ควรมองข้าม หากคุณสามารถกุมอำนาจทางการตลาดออนไลน์ได้ จะช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวกระโดด และตราสินค้าของคุณจะเป็นที่รู้จักกันอย่างรวดเร็วแพร่หลายคนไทยกว่า 90% เมื่อต้องการหาอะไร มักจะไปหาที่กูเกิ้ลกัน (Google) ดังนั้นกูเกิ้ลจึงเป็นขุมทรัพย์ทางการตลาดที่ผู้ประกอบการทุกคนควรจับจองเอาไว้ หากคุณสามารถเป็นผู้นำการตลาดผ่านช่องทางนี้ได้ ก็หมายความว่าเมื่อคนไทยทั้งประเทศทำการค้นหาสินค้าผ่าน Google เมื่อไร คุณก็จะได้รับ order เมื่อนั้น จึงเป็นช่องทางทรงประสิทธิภาพให้คุณเข้าถึงตลาดใหญ่ง่าย ๆ ได้เพียงลัดมือเดียว

การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ

กลยุทธ์ขององค์การ 3 ระดับ ดังนี้
1. กลยุทธ์ระดับองค์การหรือกลุ่มกิจการ (Corporate Strategy หรือ Companywide Strategy)
เป็นกลยุทธ์หลักขององค์การโดยรวม
2. กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ หรือกลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน (Business Strategy หรือ Competitive Strategy) เป็นกลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขัน
3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่งาน (Functional Strategy) เป็นกลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์การผลิต เป็นต้น

ประเภทของกลยุทธ์ระดับองค์การที่สำคัญ (Grand Strategy)
1. เน้นความมั่นคง
(Stability Strategy คือ Status Quo)
2. เน้นการเจริญเติบโต
(Growth Strategy หรือ Expansion Strategy )
3. ตัดทอนหรือลดขนาดการดำเนินงานลง
(Retrenchment Strategy)

กลยุทธ์ระหว่างประเทศ 4 ระดับ
1. กลยุทธ์ International Strategy
กลยุทธ์นี้กิจการจะทำการผลิตสินค้าที่แหล่งกำเนิดแล้วส่งออกไปขายในต่างประเทศ
2. กลยุทธ์ Multidomestic Strategy
กลยุทธ์นี้ กิจการจะทำการผลิต วิจัยและพัฒนา และการตลาดในตลาดท้องถิ่นที่เป็นดำเนินธุรกิจ
โดยเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นสำคัญ
3. กลยุทธ์ Global Strategy
กิจการขนาดใหญ่ที่เลือกใช้กลยุทธ์แบบนี้ จะเลือกทำเลที่ตั้ง 2-3 ที่ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการผลิต การทำตลาด และการวิจัยพัฒนา เพื่อทำให้ต้นทุนในการผลิต การตลาด การวิจัยพัฒนา และอื่น ๆ ต่ำกว่าการเลือกใช้กลยุทธ์ 2 แบบ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เนื่องจากจะได้การประหยัดจากขนาด (Economy of Scales) เกิดขึ้น
4. กลยุทธ์ Transnational Strategy
กิจการที่จะใช้กลยุทธ์แบบนี้ต้องการบรรลุทั้งเป้าหมายต้นทุนต่ำ และการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดท้องถิ่นนั้น ๆ โดยคำนึงข้อกำหนดของรัฐบาลของแต่ละท้องถิ่น

กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ (Business Strategy)หรือ กลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน (Competitive Strategy)
กิจการขนาดใหญ่ (Corporation) โดยทั่วไปมี ธุรกิจหลายประเภท ซึ่งอาจจัดโครงสร้างเป็นหน่วยธุรกิจ (Strategic Business Units)

กลยุทธ์ทางด้านตราสินค้า

กลยุทธ์ทางด้านตราสินค้า
เลือกในสิ่งที่ใช่ และใช้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการได้มา และรักษาไว้ซึ่งความเชื่อมั่น และความไว้วางใจจากลูกค้า

การนำเสนอผลประโยชน์ของตัวผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น และแตกต่างออกไปจากคู่แข่งขัน รวมทั้งการสร้างประสบการณ์ อันน่าประทับใจให้กับลูกค้า ถือเป็นกลยุทธ์ในการสร้างตราสินค้าที่ทุกบริษัทควรให้ความสำคัญ การกำหนดส่วนของตลาดที่ชัดเจน เป็นหนทางหนึ่งที่สามารถนำความสำเร็จมาสู่ตราสินค้า และเป็นสิ่งจำเป็นในการ ทำให้ตราสินค้านั้นเข้าไปเป็นหนึ่งในใจผู้บริโภค รวมทั้งทำให้ตราสินค้านั้นมีอายุที่ยั่งยืนและยาวนาน ซึ่งที่เรานำเสนอ ไว้ ณ ที่นี้นั้นเป็นกลยุทธ์พื้นฐานทั่วไป การแก้ปัญหาในด้านของสินค้า เป็นการนำเสนอในสิ่งที่ดีกว่า และให้เกิดความแตกต่างในด้านของการบริการ ทำให้ ลูกค้าได้สัมผัสถึงประสบการณ์ที่ดี และน่าประทับใจจากการใช้ตราสินค้า การเน้นไปที่ผลประโยชน์จากการใช้ตราสินค้า นั้นสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมากมายให้กับตราสินค้า และควรต้องมีการสื่อสารไปถึงผู้บริโภคอย่างชัดเจน หลักการ สำคัญของกลยุทธ์การสร้างผลประโยชน์คือ ต้องเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงหลักเกณฑ์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเน้นความสำคัญไปที่ผลของ ลูกค้าในการได้รับประสบการณ์จากการใช้ตราสินค้า ตราสินค้ายักษ์ใหญ่ทั้งหลายมักจะนิยมใช้ความมีชื่อเสียง ใช้ภาพลักษณ์เดิมที่มีอยู่แล้ว และความเชี่ยวชาญในการวาง ตำแหน่งให้กับตราสินค้าเป็นฐานในการขยายสายผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยให้ประสบผลสำเร็จและเข้าครอบครองตลาดได้ อย่างง่ายดาย กลยุทธ์ทางด้านสังคมเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างให้ลูกค้าเกิดความภักดีต่อตราสินค้า เป็นกลยุทธ์ที่ต้องมีการปฏิบัติ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาว และยังรวมถึงการที่ต้องมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการตลาดในด้านของการห่วงใยสิ่งแวดล้อม เช่น ต่อต้านการใช้สัตว์มาเป็นตัวทดลอง กลยุทธ์นี้สามารถเสนอสินค้าได้ในราคาสูง ซึ่งจะไม่มีปัจจัยทางด้านรายได้, เพศ หรือ อายุ เข้ามาเป็นตัวกำหนดอีกด้วย และยังมีกลยุทธ์ต่างๆ อีกมาก เช่น
»
กลยุทธ์ทางด้านคุณค่า (เป็นการผสมผสานกันระหว่างเรื่องของราคา และคุณภาพ แต่อย่าลืมว่า "สงครามราคา" นั้น ไม่ได้สร้างความสำเร็จให้กับตราสินค้าได้อย่างมั่นคง และถาวร)
»
กลยุทธ์ความใฝ่ฝัน (จงค้นหาให้เจอ และทำฝันของพวกเขาให้เป็นความจริง)
»
กลยุทธ์ทางวัฒนธรรม (เพื่อให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน และกำหนดได้อย่างแน่นอนของกลุ่มลูกค้า)
»
กลยุทธ์ทางด้านอารมณ์ และความรู้สึก (เมื่อมีการใช้ร่วมกับกลยุทธ์ด้านอื่นๆ คุณจึงมั่นใจได้ว่าตราสินค้านั้นจะเข้าไปฝังอยู่ ในจิตสำนึกของผู้บริโภคได้อย่างถาวร)
»
กลยุทธ์ด้านบุคลิก (ผู้บริโภคต้องการตราสินค้าที่มีบุคลิกลักษณะเดียวกันกับพวกเขา ฉะนั้นการกำหนดบุคลิกให้กับ ตราสินค้าควรให้สอดคล้อง และคำนึงถึงบุคลิกผู้บริโภคด้วยเช่นกัน)
ไม่จำเป็นเสมอไปว่า การสร้างกลยุทธ์ตราสินค้านั้นต้องกำหนดตามสมัยนิยมของตลาด ซึ่งจุดหมายที่ต้องการจากการทำ กลยุทธ์ตราสินค้านั้นก็คือ การสร้างลูกค้าถาวร แต่เป้าหมายที่แท้จริงแล้วนั้นคือ การรักษาลูกค้า และการขยายฐานลูกค้า ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญ และควรมีความยืดหยุ่นเพื่อปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานะการณ์ และความต้องการของตลาด แต่คงไว้ซึ่งภาพลักษณ์เดิม กลยุทธ์ตราสินค้าเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตราสินค้า เพื่อให้ได้มาในเรื่องของความไว้วางใจจากผู้บริโภค เราเสนอกลยุทธ์การสร้างตราสินค้า เพื่อทำให้ตราสินค้าของคุณดูโดดเด่นอย่างชัดเจน และคุณสามารถมั่นใจได้ถึง ทุกๆ กระบวนการทางการตลาด ตลอดจนกิจกรรมทางการตลาดนั้นจะเดินควบคู่ไปบนเส้นทางเดียวกัน

ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์

ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์
1. การวางแผนกลยุทธ์เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานพัฒนาตนเองได้ทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม เพราะการวางแผนกลยุทธ์ให้ความสำคัฐกับการศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงานเป็นประเด็นสำคัญ
2. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐในทุกระดับ มีความเป็นตัวเองมากขึ้น รับผิดชอบต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเองมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะการวางแผนกลยุทธ์เป็นการวางแผนขององค์การ โดยองค์การและเพื่อองค์การไม่ใช่เเป็นการวางแผนที่ต้องกระทำตามที่หน่วยเหนือสั่งการ
3. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการวางแผนที่สอดรับกับการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นกระแสหลักในการบริหารภาครัฐในปัจจุบัน และสอดคล้องกับที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้เตรียมออกระเบียบกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐทุกระดับมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนางานสู่มิติใหม่ของการปฏิรูประบบราชการ
4. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการจัดทำระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Base Budgeting) ซึ่งสำนักงบประมาณกำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัด จัดทำก่อนที่จะกระจายอำนาจด้านงบประมาณโดยการจัดสรรงบประมาณเป็นเงินก้อนลงไปให้หน่วยงาน
5. การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนที่ให้ความสำคัญต่อการกำหนด “กลยุทธ์” ที่ได้มาจากการคิดวิเคราะห์แบบใหม่ ๆ ที่ไม่ผูกติดอยู่กับปัญหาเก่าในอดีตไม่เอาข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร และงบประมาณมาเป็นข้ออ้าง ดังนั้น การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนแบบท้าทายความสามารถ เป็นรูปแบบการวางแผนที่ช่วยให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นการวางแผนพัฒนาที่ยั่งยืน

การวางแผนกลยุทธ์

การวางแผนกลยุทธ์ หรือ Strategic Planning
นั้นเป็นสิ่งที่ใช้กันแพร่หลายมาก ในกิจการด้านการทหาร ในด้านการศึกการสงคราม ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะในการบริหาร ในวงการธุรกิจเอกชนนั้น ประสบความสำเร็จสูงมาก ก้าวหน้าและเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันมาก ปัจจุบันนี้การวางแผนแบบแผนกลยุทธ์ได้แพร่หลายเข้ามาในวงงานต่าง ๆ และวงงานของราชการมากขึ้น แต่คำที่นิยมใช้และที่ได้รับการยอมรับกันในวงราชการ ส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า แผนยุทธศาสตร์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์นั้น เป็นการวางแผนที่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ มีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทำงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง สำหรับการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการระบบการทำงานที่คล่องตัว ต้องการดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนำสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อความอยู่รอด (Survive) และความก้าวหน้า (Growth) ขององค์การ ของหน่วยงาน หรือของธุรกิจของตนในอนาคต การวางแผนกลยุทธ์หรือการวางแผนเชิงกลยุทธ์นี้ มีส่วนเป็นอย่างมากต่อการสร้างความเป็นผู้นำ (Leadership) หรือในการสร้างภาพลักษณ์ (Image) ที่แสดงถึงจุดเด่นของหน่วยงาน ขององค์การหรือของธุรกิจในการวางแผนกลยุทธ์นั้น จะมีการกำหนดเป้าหมายรวมขององค์การ สำหรับการดำเนินในอนาคต ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ มีการคิดในเชิงรุก มุ่งเอาดี เอาเด่น เอาก้าวหน้า ก้าวไกล มุ่งเอาชนะ เอาความยิ่งใหญ่ เน้นคุณภาพ เอาความเป็นเลิศ